วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเขียนแบบบ้านเป็นเรื่องง่ายๆ พร้อมให้ความรู้เรื่องแบบบ้าน

งานเขียนแบบบ้าน ถือว่ามีความสำคัญสำหรับช่างทุกช่าง ซึ่งจะต้องมีการออกแบบ เขียนแบบทุกครั้งที่จะทำการผลิตชิ้นงานออกมา จึงพูดได้ว่างานเขียนแบบเป็นหัวใจของช่างทุกชนิด ในสมัยโบราณการเขียนแบบไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ แต่ช่างพยายามถ่ายทอดความคิดลงในแผ่นหิน โดยมิได้แยกชิ้นส่วนให้เห็นชัด ตามชนบทเมื่อมีการปลูกสร้างบ้านก็มีการเขียนแบบแปลนบ้านตามพื้นดินในบริเวณปลูกสร้าง ซึ่งจะดีกว่าที่จะทำโดยไม่มีแบบแผนเลย



ฉะนั้นการเขียนแบบก็เป็นวิชาหนึ่ง ซึ่งใช้กันในงานอุตสาหกรรมทั่วโลก เพื่อแสดงรูปร่างและลักษณะของสิ่งที่ต้องการผลิตออกมา วิชาเขียนแบบเป็นวิชาที่ไม่มีคำอธิบายบอกรูปลักษณะ และขนาดของสิ่งของ แต่วิชาเขียนแบบเป็นการแสดงให้เห็นภาพอย่างแจ่มชัด ทั้งลักษณะรูปร่าง ขนาด ทุกส่วนอยู่แล้ว ดังนั้นการเขียนแบบเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในงานช่างและงานสร้างสรรค์

การเขียนแบบ (mechanical drawing) คือ การเขียนที่แสดงเป็นภาพ รูปร่าง สัญลักษณ์ และรายละเอียดของแบบที่ออกไว้ เพื่อให้นำไปสร้างเป็นของจริงได้ ก่อนที่จะเริ่มเขียนแบบ เราควรจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์ในสำหรับเขียนแบบ และวิธีใช้ให้ดี เพื่อให้ได้ผลงานเรียบร้อยรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องมือเขียนแบบให้มีสภาพดีอยู่ได้นาน
การใช้เครื่องมืออุปกรณ์การเขียนแบบ

เครื่องมือเขียนแบบและหน้าที่วิธีการใช้ มีดังนี้ โต๊ะเขียนแบบ หรือกระดานเขียนแบบ ( Drawing Board ), กระดาษเขียนแบบ มีทั้งขนาดความหนา 80 ปอนด์ ถึง 100 ปอนด์ เป็นชนิดไม่มีเส้นขนาดความกว้างความยาว แล้วแต่จะต้องการเขียนหรือต้องการใช้ , ไม้ฉากรูปตัวที (T-square)มีลักษณะคล้ายรูปตัว T, ดินสอเขียนแบบ (drawing pencil), ไม้ฉากสามเหลี่ยมเป็นชุด (set-square), ไม้บรรทัดสเกลแบบสามเหลี่ยม (scale), วงเวียน (compass), บรรทัดโค้ง ( Irregular Curves ) เป็นต้น

การเขียนแบบมีด้วยกันหลายอย่าง แต่ถ้าจะแบ่งอกตามลักษณะของงานแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. การเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม ได้แก่ การเขียนแบบทางการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ เช่น การเขียนแบบโครงสร้าง การเขียนแบบแผนที่ การเขียนแบบช่างสำรวจ เป็นต้น
2. การเขียนแบบทางวิศวกรรม ได้แก่ การเขียนแบบเครื่องจักรกลต่างๆ เช่น การเขียนแบบเครื่องกล การเขียนแบบโลหะแผ่น การเขียนแบบไฟฟ้า การเขียนแบบช่างกลโรงงาน การเขียนแบบเครื่องเรือน เป็นต้น

ชนิดของแบบ แบบทั้งสองประเภทนั้นจะเขียนเป็นภาพหรือใช้เป็นสัญลักษณ์ก็ได้ สามารถเขียนได้ 3 วิธีคือ
1. การเขียนแบบภาพ (Pictorial Drawing) ได้แก่ การเขียนแบบที่เป็นรูป 3 มิติ มองดูเหมือนของจริงแบบถ่ายภาพ ใช้สำหรับเขียนประกอบเพื่อให้ดูเข้าใจง่าย ผู้ที่ไม่มีความรู้ในการเขียนแบบก็สามารถดูและเข้าใจ แต่ไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับสร้างชิ้นงานที่มีความสลับซับซ้อน การเขียนภาพมี 3 แบบด้วยกันคือ
1.1 แบบ Oblique เป็นแบบภาพ 3 มิติที่มองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริง ด้านหน้าเป็นแนวตรงเป็นมุมฉากเหมือนภาพฉาย สามารถจัดขนาดได้ ส่วนด้านลึกจะทำมุมต่างกันกับเส้นระดับ มุมที่ใช้มักจะใช้มุม 45 องศา
1.2 แบบ Isometric เป็นแบบภาพ 3 มิติมองเห็นรูปร่างลักษณะเหมือนของจริงแนวแกนกลางจะตั้งตรง ส่วนด้านหน้าและด้านข้างจะทำมุม 30 องศากับเส้นระดับ
1.3 แบบ Perspective เป็นแบบรูป 3 มิติเหมือนรูปถ่าย ใช้เขียนประกอบเพื่อแสดงแบบเหมือนของจริง แบบ Perspective มีด้วยกัน 3 ชนิดคือ

2. แบบใช้งาน (Working Drawing) เป็นแบบที่ใช้เขียนในงานผลิตทุกชนิดเพราะแบบใช้งานที่ได้แสดงรายละเอียดของด้านต่างๆไว้อย่างชัดเจนและถูกต้อง แบบใช้งาน ได้แก่
2.1 แบบฉาย เป็นแบบภาพ 2 มิติ ตามแนวตรงเป็นมุมฉากแสดงรายละเอียดของด้านต่างๆเช่น ด้านหน้า ด้านบน ด้านข้าง ด้านหลัง เป็นต้น การแสดงรายละเอียดนั้นต้องมีอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ด้าน การแสดงแบบภาพฉายมีดังนี้
- ภาพแสดงด้านต่างแบบเต็มขนาดคือ ขนาดเท่าของจริงหรือจะใช้
- มาตราส่วนย่อหรือขยายก็ได้แต่ต้องบอกไว้อย่างชัดเจน
- มีตัวเลขหรือตัวอักษรประกอบเพื่อให้ทราบรายละเอียดต่างๆ
- มีรายการวัสดุที่ใช้โดยละเอียด

แบบภาพฉายนี้ถ้าเป็นงานที่มีรายละเอียดหรือสลับซับซ้อนมากอาจจะเขียนภาพตัดหรือแบบขยายภาพละเอียดประกอบเพิ่มเติมก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น